แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมดินน้ำมันลอยน้ำ หน่วย ของเล่น
สาระที่ควรเรียนรู้
เมื่อเรานำของที่หนักเช่นดินน้ำมันที่เป็นก้อนมาปั้นให้มีช่องกลวงตรงกลาง ซึ่งสามารถบรรจุอากาศไว้ภายใน ทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้
ประสบการณ์สำคัญ
1 การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
2 การสำรวจและอธิบายความเหมือนความต่างของสิ่งต่างๆ
3 การเปรียบเทียบ
4 การตั้งสมสติฐาน
5 การทดลองสิ่งต่างๆ
จุดประสงค์
1 ตั้งคำถาม สังเกต และสำรวจเกี่ยวกับลักษณะของดินน้ำมันที่จมและลอย
2 คาดคะเนลักษณะดินน้ำมันที่จมและลอย
3 ใช้ประสาทสัมผัสในการวางแผนและทดลองเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดินน้ำมันเพื่อสังเกตการจมและการลอย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
1 ทักษะการสังเกต
2 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา
ครูแนะนำอุปกรณ์ว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างและรูปร่างของดินน้ำมันมีผลต่อการจมการลอยน้ำหรือไม่อย่างไร
ขั้น 2 ตั้งสมมติฐาน
ให้เด็กสังเกตว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันก้อนที่จมน้ำสามารถลอยน้ำได้
ขั้น 3 เก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูล
1 เด็กปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลม และให้เด็กคาดคะเนว่าจมหรือลอยแล้วใส่ลงในอ่างแก้วเพื่อทดสอบการจม การลอย
2 เด็กคิดหาวิธีการทำให้ดินน้ำมันลอยน้ำ ด้วยการปั้นเป็นรูปต่างๆ โดยครูให้โอกาสในการปั้นรูปต่างๆ
3 ครูและเด็กร่วมกันสรุปและลงความเห็นเกี่ยวกับการปั้นดินน้ำมันที่เป็นรูปร่างต่างๆ ที่ส่งผลต่อการจมและการลอย
ขั้น 4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ครูทดลองเปลี่ยนจากดินน้ำมันรูปต่างๆเป็นปั้นดินน้ำมันเป็นรูปเรือแล้วใส่น้ำลงในดินน้ำมันให้เต็ม แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 5 อภิปรายและลงข้อสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปผลการทดลองเปลี่ยนรูปร่างดินน้ำมันในลักษณะต่างๆโดยการบันทึกจากการจม การลอยจากคำพูดของเด็ก
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1 อ่างแก้วใส่น้ำ
2 ดินน้ำมัน
ภาพการจม ลอย ของดินน้ำมัน
ที่มา : http://122.155.162.144/nsm2009/index.php? option=com_nsmcontents&views=article&id=1683&Itemid=92
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น